รายชื่อพรรคการเมืองที่ลงสมัครเลือกตั้ง

รายชื่อพรรคการเมืองที่ลงสมัครเลือกตั้ง
               ภายหลังจากมีพระราชกฤษฎีกายุบสภา ผู้แทนราษฎร พ.ศ.2554 ซึ่งมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 10 พ.ค.54 เป็นเหตุให้สมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลง และมีกำหนดให้จัดการเลือกตั้งเป็นการทั่วไปในวันอาทิตย์ที่ 3 ก.ค.54  ซึ่งตามรัฐธรรมมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2554 กำหนดให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ประกอบด้วย สมาชิกจำนวน 500 คน โดยแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ สมาชิกซึ่งมาจากการเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ (ปาร์ตี้ลิสต์) จำนวน 125 คน และสมาชิกซึ่งมาจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง รวมทั่วประเทศจำนวน 375 คน ซึ่งในพื้นที่ กทม. มี ส.ส.แบบแบ่งเขตเลือกตั้งได้ทั้งสิ้น 33 คน
                            ทั้งนี้จากการรับสมัครผู้สมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ เมื่อวันที่ 19-23 พ.ค.54 เวลา 08.30 – 16.30 น. ณ ศูนย์เยาวชนกรุงเทพมหานคร (ไทย-ญี่ปุ่น) ดินแดง ที่ผ่านมา ปรากฏว่ามีพรรคการเมือง ส่งบัญชีรายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้ง สรุปรวมทั้งสิ้น 40 พรรคการเมือง  เรียงตามหมายเลขการรับสมัคร ดังนี้

       หมายเลข 1 พรรคเพื่อไทย  จำนวนผู้สมัคร 125 คน
               หัวหน้าพรรค : นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
     หมายเลข 2 พรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน  จำนวนผู้สมัคร 125 คน
              หัวหน้าพรรค : นายแพทย์วรรณรัตน์  ชาญนุกูล   
     หมายเลข 3 พรรคประชาธิปไตยใหม่  จำนวนผู้สมัคร 6 คน
              หัวหน้าพรรค : นายสุรทิน พิจารณ์    
     หมายเลข 4 พรรคประชากรไทย  จำนวนผู้สมัคร 13 คน
             หัวหน้าพรรค : นายสุมิตร สุนทรเวช    
     หมายเลข 5 พรรครักประเทศไทย  จำนวนผู้สมัคร 11 คน  
              หัวหน้าพรรค : นายชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์     
     หมายเลข 6 พรรคพลังชล  จำนวนผู้สมัคร 18 คน
              หัวหน้าพรรค : นายเชาวน์ มณีวงษ์    
     หมายเลข 7 พรรคประชาธรรม  จำนวนผู้สมัคร 25 คน 
              หัวหน้าพรรค : นายมุคตาร์ กีละ    
     หมายเลข 8 พรรคดำรงไทย  จำนวนผู้สมัคร 13 คน
              หัวหน้าพรรค : นายโชติพัฒน์ สกุลดีเชิดชู     
     หมายเลข 9 พรรคพลังมวลชน  จำนวนผู้สมัคร 8 คน
              หัวหน้าพรรค : นายกรภพ ครองจักรภพ    
     หมายเลข 10 พรรคประชาธิปัตย์  จำนวนผู้สมัคร 125 คน
              หัวหน้าพรรค : นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ    
     หมายเลข 11 พรรคไทยพอเพียง  จำนวนผู้สมัคร 3 คน
              หัวหน้าพรรค : นายจำรัส อินทุมาร     
     หมายเลข 12 พรรครักษ์สันติ  จำนวนผู้สมัคร 64 คน
              หัวหน้าพรรค : พลตำรวจโท ถวิล สุรเชษฐพงษ์    
     หมายเลข 13 พรรคไทยเป็นสุข  จำนวนผู้สมัคร 5 คน
              หัวหน้าพรรค : นายประดิษฐ์ ศรีประชา    
     หมายเลข 14 พรรคกิจสังคม  จำนวนผู้สมัคร 125 คน
              หัวหน้าพรรค : นายทองพูล ดีไพร    
     หมายเลข 15 พรรคไทยเป็นไทย  จำนวนผู้สมัคร 10 คน
              หัวหน้าพรรค : นายตรีสัลล์ จันทน์เทียนเดชา     
     หมายเลข 16 พรรคภูมิใจไทย  จำนวนผู้สมัคร 125 คน
              หัวหน้าพรรค : นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล    
     หมายเลข 17 พรรคแทนคุณแผ่นดิน  จำนวนผู้สมัคร 32 คน
              หัวหน้าพรรค : นายวิชัย ศิรินคร     
     หมายเลข 18 พรรคเพื่อฟ้าดิน  จำนวนผู้สมัคร 1 คน
              หัวหน้าพรรค : นางสาวขวัญดิน สิงห์คำ     
     หมายเลข 19 พรรคเครือข่ายชาวนาแห่งประเทศไทย  จำนวนผู้สมัคร30 คน  
              หัวหน้าพรรค : นายโชติ บุญจริง    
     หมายเลข 20 พรรคการเมืองใหม่  จำนวนผู้สมัคร 24 คน
              หัวหน้าพรรค : นายสมศักดิ์  โกศัยสุข    
     หมายเลข 21 พรรคชาติไทยพัฒนา  จำนวนผู้สมัคร 125 คน
              หัวหน้าพรรค : นายชุมพล ศิลปอาชา    
     หมายเลข 22 พรรคเสรีนิยม  จำนวนผู้สมัคร 8 คน
              หัวหน้าพรรค : นายพุทธชาติ ช่วยราม     
     หมายเลข 23 พรรคชาติสามัคคี  จำนวนผู้สมัคร 9 คน 
              หัวหน้าพรรค : นายนพดล ไชยฤทธิเดช    
     หมายเลข 24 พรรคบำรุงเมือง  จำนวนผู้สมัคร 14 คน 
              หัวหน้าพรรค : นายสุวรรณ ประมูลชัย    
     หมายเลข 25 พรรคกสิกรไทย  จำนวนผู้สมัคร 2 คน
              หัวหน้าพรรค : นายจำลอง  ดำสิม    
     หมายเลข 26 พรรคมาตุภูมิ  จำนวนผู้สมัคร 40 คน 
              หัวหน้าพรรค : พลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน    
     หมายเลข 27 พรรคชีวิตที่ดีกว่า  จำนวนผู้สมัคร คน
                           รักษาการแทนหัวหน้าพรรค : นางพูลถวิล ปานประเสริฐ
          หมายเลข 28 พรรคพลังสังคมไทย  จำนวนผู้สมัคร 5 คน
                          หัวหน้าพรรค : นายวิวัฒน์ เลอยุกต์
          หมายเลข 29 พรรคเพื่อประชาชนไทย  จำนวนผู้สมัคร 4 คน 
                           หัวหน้าพรรค : นายดิเรก กลิ่นจันทร์
          หมายเลข 30 พรรคมหาชน  จำนวนผู้สมัคร 6 คน
                           หัวหน้าพรรค : นายอภิรัต ศิรินาวิน
          หมายเลข 31 พรรคประชาชนชาวไทย  จำนวนผู้สมัคร 5 คน
                          หัวหน้าพรรค : นายสุนทร ศรีบุญนาค
            หมายเลข 32 พรรครักแผ่นดิน  จำนวนผู้สมัคร 1 คน 
                          หัวหน้าพรรค : นายประทีป ประภัสสร
          หมายเลข 33 พรรคประชาสันติ  จำนวนผู้สมัคร 34 คน 
                          รักษาการแทนหัวหน้าพรรค : นายดลสวัสด์ ชาติเมธี
          หมายเลข 34 พรรคความหวังใหม่  จำนวนผู้สมัคร 125 คน  
                          หัวหน้าพรรค : นายชิงชัย มงคลธรรม
          หมายเลข 35 พรรคอาสามาตุภูมิ  จำนวนผู้สมัคร 3 คน
                          หัวหน้าพรรค : นายมนตรี เศรษฐบุตร
          หมายเลข 36 พรรคพลังคนกีฬา  จำนวนผู้สมัคร 103 คน
                          หัวหน้าพรรค : นายวนัสธนา สัจจกุล หรือ บิ๊กหอย
          หมายเลข 37 พรรคพลังชาวนาไทย  จำนวนผู้สมัคร 5 คน 
                         หัวหน้าพรรค : นายสวัสดิ์ พบวันดี
          หมายเลข 38 พรรคไทยสร้างสรรค์  จำนวนผู้สมัคร 4 คน
                         รักษาการแทนหัวหน้าพรรค : นายวิษณุภตฆ์ พีรเจริญวงส์
          หมายเลข 39 พรรคเพื่อนเกษตรไทย  จำนวนผู้สมัคร 23 คน
                        รักษาการแทนหัวหน้าพรรค : นายทรงเดช สุขขำ
            หมายเลข 40 พรรคมหารัฐพัฒนา  จำนวนผู้สมัคร 2 คน
                        หัวหน้าพรรค : นางสาวนวลนิจ หงษ์วิวัฒน์


                            ในระหว่างนี้ กกต. อยู่ระหว่างดำเนินการรับสมัคร ผู้สมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง จนถึงวันที่ 28 พ.ค.54 ณ ศูนย์เยาวชนกรุงเทพมหานคร (ไทย-ญี่ปุ่น) ดินแดง โดยผู้สมัครรับเลือกตั้ง ส.ส. แบบแบ่งเขตเลือกตั้งจะได้รับหมายเลขประจำตัวที่ใช้ในการหาเสียงหมายเลขเดียว กับหมายเลขของพรรคการเมืองที่สังกัด ในส่วนของผู้สมัคร ส.ส.ของพรรคการเมืองที่ไม่ได้ส่งสมาชิกสมัครรับเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ จะได้รับหมายเลขผู้สมัครต่อจากหมายเลขของพรรคการเมือง ในลำดับที่ 41 ต่อไป ซึ่งในช่วงเวลานี้จนถึงวันเลือกตั้งบรรยากาศทางการเมืองจะคึกคักไปด้วยกอง เชียร์ กลยุทธ์หาเสียง การแย่งชิงพื้นที่และฐานเสียง ตลอดจนการรณรงค์ชวนคนกรุงไปใช้สิทธิเลือกตั้ง  แต่...ประชาชนเท่านั้นจะเป็นผู้ตัดสินใช้สิทธิใช้เสียงของตนอย่างไร